เมนู

[809] สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไปสู่ทิศ
ทั้งปวง เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ ย่อมไม่แล่นไป
ย่อมไม่ล่มจม.


ว่าด้วยลูกศร 7 ประการ


[810] ชื่อว่า ลูกศร ในคำว่า สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้วย่อม
แล่นพล่านไปสู่ทิศทั้งปวง
ได้แก่ ลูกศร 7 ประการ คือลูกศรราคะ
ลูกศรโทสะ ลูกศรโมหะ ลูกศรมานะ ลูกศรทิฏฐิ ลูกศรความโศก
ลูกศรความสงสัย.
ลูกศรราคะเป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความยินดี
ความชอบใจ ความเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน ความที่
จิตกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล นี้ชื่อว่า ลูกศรราคะ.
ลูกศรโทสะเป็นไฉน ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นได้ประพฤติ
ความพินาศแก่เราแล้ว ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นย่อมประพฤติ
ความพินาศแก่เรา ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นจักประพฤติความ
พินาศแก่เรา ฯลฯ ความเป็นคนดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่
แช่มชื่นแห่งจิต นี้ชื่อว่า ลูกศรโทสะ.
ลูกศรโมหะเป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ความไม่รู้ใน
ปฏิปทาอันให้ถึงความดับทุกข์ ความไม่รู้ส่วนเบื้องต้น ความไม่รู้ส่วน
เบื้องปลาย ความไม่รู้ส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ใน
ธรรมทั้งหลายที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้เป็น
ปัจจัย ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่ตามตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้

ชอบ ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเหตุด้วยดี ความไม่หยั่งรู้เหตุ
ความไม่เพ่งพินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความไม่
ผ่องแผ้ว ความเป็นคนโง่ ความหลง ความหลงทั่ว ความหลงพร้อม
อวิชชา อวิชชาโอฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน
อวิชชาลังคี (ลิ่มคืออวิชชา) โมหะ อกุศลมูล นี้ชื่อว่า ลูกศรโมหะ.
ลูกศรมานะเป็นไฉน ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา ความถือตัวว่า
เราเสมอเขา ความถือตัวว่า เราเลวกว่าเขา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว
ความเป็นผู้ถือตัว ความใฝ่สูง ความฟูขึ้น ความทะนงตัว ความยกตัว
ความที่จิตใฝ่สูง ดุจธง นี้ชื่อว่า ลูกศรมานะ.
ลูกศรทิฏฐิเป็นไฉน สักกายทิฏฐิมีวัตถุ 20 มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ 10
อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ 10 ทิฏฐิ ความไปคือทิฏฐิ รกเรี้ยวคือทิฏฐิ
กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องประกอบ
คือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดถือทางผิด คลอง-
ผิด ความเป็นผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือโดยแสวงหาผิด ความถือวิปริต
ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือแน่นอนว่าจริงในสิ่งที่ไม่จริง
อันใดเห็นปานนี้ และทิฏฐิ 62 มีประมาณเท่าใด นี้ชื่อว่า ลูกศรทิฏฐิ.
ลูกศรความโศกเป็นไฉน ความโศก กิริยาที่โศก ความเป็นผู้โศก
ความโศกในภายใน ความตรอมเตรียมในภายใน ความเร่าร้อนในภายใน
ความแห้งผากในภายใน ความตรอมเตรียมแห่งจิต ความโทมนัสแห่ง
บุคคลที่ถูกความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งโภค-
สมบัติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมเพราะโรคกระทบเข้าบ้าง ที่ถูก
ความเสื่อมแห่งศีลกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง

ที่ประจวบกับความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด
อย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง นี้ชื่อว่า ลูกศรความโศก.
ลูกศรความสงสัยเป็นไฉน ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยใน
ทุกขสมุทัย ความสงสัยในทุกขนิโรธ ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา ความสงสัยในส่วนเบื้องต้น ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย ความ
สงสัยในส่วนเบื้องต้น และส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในธรรมทั้งหลายที่
อาศัยกันเกิดขึ้น คือความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้เป็นปัจจัย ความ
สงสัย กิริยาที่สงสัย ความเป็นผู้สงสัย ความเคลือบแคลง ความลังเล
ความเป็นสองทาง ความไม่แน่ใจ ความไม่แน่นอน ความไม่ตกลงใจ
ความไม่อาจตัดสิน ความไม่กำหนดถือเอาได้ ความที่จิตหวั่นไหวอยู่
ความติดขัดในใจ นี้ชื่อว่า ลูกศรความสงสัย.

ว่าด้วยภาวะของสัตว์ที่ถูกลูกศร


[811] คำว่า สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไป
สู่ทิศทั้งปวง
ความว่า สัตว์อันลูกศรราคะปักติดแล้ว คือแทงเข้าไป
ถูกต้อง ติดเสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อม
ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง
ลักทรัพย์บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง ปล้นโดยไม่เหลือบ้าง ปล้นเฉพาะเรือนหลัง
เดียวบ้าง ดักแย่งชิงที่ทางเปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาบุรุษอื่นบ้าง พูดเท็จ
บ้าง สัตว์อันลูกศรราคะปักติดแล้ว คือแทงเข้าไปถูกต้อง ติด เสียบแน่น
คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปแม้อย่างนี้.